ผลคะแนนและราคา 2 in 1 คะแนนในการแข่งสด ผลการแข่งขัน ตารางการแข่งขัน อัตราต่อรอง ข้อมูล คะแนนบาสเก็ตบอล
บันเทิง » ข่าวภาพยนตร์ » หนังไทยตกต่ำจริงหรือ?

หนังไทยตกต่ำจริงหรือ?

Posted 10/07/2015 by ไทยรัฐ

ในช่วงนี้ผมมักจะได้อ่านข้อความทางเฟซบุ๊กหรือโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่บอกว่า “หนังไทยกำลังจะตาย” หรือไม่ก็จะเป็นคำว่า “หนังไทยกำลังเข้าสู่ยุคตกต่ำ/ยุคมืด/ยุคล่มสลาย” หรือจะมีคำสรรหาอื่นๆ อีกมากมายที่จะถูกนำมาเปรียบเทียบให้เห็นถึงความพินาศวอดวายของภาพยนตร์ไทยที่เข้าฉายแต่ละเรื่องในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จะว่าไปแล้วก็ไม่ค่อยต่างจากที่คนมักจะพูดว่า “เศรษฐกิจไม่ดี” ก็น่าจะเป็นไปได้ครับ

ด้วยความที่ตัวเองอยู่กลางตาพายุของความวินาศนี้ ผมเลยได้มีโอกาสสัมผัสกับคำว่า “ตกต่ำ” ที่หลายคนพูดถึงด้วยเนื่องจากหนังของผมซึ่งก็คือ “ผีห่าอโยธยา” เข้าฉายในช่วงที่เขาเรียกว่า “Summer Blockbuster” หรือช่วงหนังดังซัมเมอร์นั่นเองครับ ช่วงนั้นผมก็เข้าฉายเบียดโรงกับหนังฝรั่งอย่าง The Avenger 2 และ Mad Max : Fury Road ซึ่งเป็นหนังดังที่ประสบความสำเร็จในด้านคำวิจารณ์และรายได้ รวมถึงมีต้นทุนการสร้างที่สูงเสียดฟ้า ต้องแหงนหน้ามองครับ (ผมทำการเปรียบเทียบแล้วพบว่างบหนัง ผีห่าอโยธยาของผมสามารถทำ The Avenger 2 ได้ 11 วินาที และ 16 วินาทีสำหรับ Mad Max ครับ)

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทำไมค่ายหนังต่างๆ ถึงยังตั้งใจที่จะให้หนังต่างๆ เข้าฉายพร้อมกับหนังฝรั่งทั้งๆ ที่รู้ว่าหนังไทยยังด้อยกว่าในหลายๆ ด้าน ทั้งงบ ความลงตัว ความน่าเชื่อถือจากผู้ชม งบการทำการตลาด ชื่อเสียงนักแสดงและทีมงาน ฯลฯ ? ไม่คิดว่าถ้าเรารู้ตัวแล้วว่าจะไม่มีคนดูหนังเราแล้วเราจะถอนตัวจากวงการแล้วไปทำมาหากินอย่างอื่นหรือครับ?

ความจริงแล้วมันก็มีวิธีการหลายๆ ช่องทางครับที่จะทำให้หนังไทยอยู่รอดปลอดภัยอยู่เรื่อยๆ ครับ เพียงแต่หนังเรื่องนั้นๆ ต้องมีมาตรฐานที่ดีนะครับ ไม่ใช่ว่าจะทำหนังอย่างไรก็เอาตัวรอดได้เสมอไป

รายได้จากหนังไทยมาจากทางไหนบ้าง?

จากโรงฉายในประเทศ

...อันนี้จะแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนที่เป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑลกับต่างจังหวัดครับ ส่วนที่เป็นกรุงเทพฯ นั้นจะเป็นส่วนที่เรามักจะเห็นยอดรายได้ Box Office หรือรายได้หนังตามหน้านิตยสารหรืออินเทอร์เน็ตนี่แหละครับ ตัวเลขเหล่านั้นปกติแล้วจะมีเพียงแค่กรุงเทพฯ ครับ ซึ่งเวลาเป็นรายได้นั้นก็จะหักค่าโรงภาพยนตร์ไปครึ่งหนึ่งก่อน (หรืออาจจะมากน้อยแตกต่างกันแล้วแต่การตกลงกับโรงภาพยนตร์ครับ) ดังนั้น เวลาเห็นเลขนั้น หักครึ่งก่อนก็จะเห็นรายได้จริงที่เข้ามาที่เรา (หรือค่ายหนังของเรา) ครับ 

ส่วนต่อมาคือการขายสายภาพยนตร์ซึ่งจะแบ่งไปเป็นภาคๆ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอีสาน ภาคใต้ และกี่จังหวัดก็ว่าไปตามแต่สายหนังไหนคุมอยู่ส่วนไหนครับ หนังที่ฉายในโรงหนังนั้นถึงจะเป็นโรงหนังใหญ่หากอยู่ต่างจังหวัดก็ยังต้องผ่านสายหนังครับ ซึ่งสายหนังก็จะตกลงกับเจ้าของหนังอยู่ดีครับว่ารายได้หรือที่มาเป็นอย่างไร ขายขาดแล้วสายหนังไปดูแลการฉายเองเพื่อทำกำไรคืน หรือแบ่งรายได้กันตามสัดส่วน ซึ่งหนังต่างจังหวัดกับหนังในกรุงเทพฯ ก็มีรสนิยมแตกต่างกันอยู่พอสมควรครับ เช่นหนังอย่าง “ผู้บ่าวไทบ้าน” นั้น เริ่มฉายจากสายอีสานก่อนแล้วจึงโยกย้ายสำมะโนครัวมาฉายกรุงเทพฯ หลังจากทำเงินในสายแล้ว เพราะรสนิยมของชาวอีสานเหมาะกับภาพยนตร์รูปแบบนั้นมากกว่า ก็ทำเงินดีกว่าครับ

จากการขายทีวี

...ทีวีนั้นก็จะแบ่งย่อยออกมาเป็นฟรีทีวี และเคเบิล ในบางโอกาสก็จะมีเพย์ทีวีด้วยครับ ซึ่งสิทธิ์ก็จะแตกต่างกันไปว่าซื้อขาดเป็นระยะเวลากี่ปี ซื้อฉายหนเดียว หรือแบ่งรายได้ (หากเป็นเพย์ทีวี หรือหนังที่ต้องจ่ายเงินเพื่อรับชมครับ) ถ้าเป็นฟรีทีวีนั้นก็จะคิดราคาตามเวลาออกอากาศ หรืออาจจะมีการลดราคาเพื่อแลกเปลี่ยนกับช่องทางการทำโปรโมต ประชาสัมพันธ์ให้ถึงผู้คนในวงกว้างด้วยครับ ซึ่งก็คุ้มค่านะครับ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างช่องและเจ้าของหนังครับ แต่ก็ทำเงินได้อยู่ในระดับหนึ่งครับ

อันนี้เป็นสองส่วนแรกที่เป็นรายได้ที่สามารถทำกลับคืนมาได้ แต่ในบทความถัดไป ผมจะยกส่วนอื่นๆ ที่เหลือมาให้ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้กันครับ



จะได้รู้ว่าจริงๆ แล้วหนังไทยอาจจะยังมีที่ยืนอยู่ ไม่ได้จากลี้หนีหายไปไหนครับ : )

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

TOP 5 ข่าวในรอบ 3 วัน

อัลบั้มภาพเด็ดๆ

More »

คลิปไฮไลท์

More »