ผลคะแนนและราคา 2 in 1 คะแนนในการแข่งสด ผลการแข่งขัน ตารางการแข่งขัน อัตราต่อรอง ข้อมูล คะแนนบาสเก็ตบอล
ฟุตบอล » ยูฟ่า /ยูโรป้าลีก/ยูโรคัพ » สนามนี้ไม่มีพี่น้อง

สนามนี้ไม่มีพี่น้อง

Posted 03/06/2016 by siamsport

ในยุคที่ทั้งโลกกำลังต้องการความสามัคคี ไยคนเราจะต้องมาห้ำหั่นกัน แม้แต่พี่น้องยังต้องมาแตกแยกกันเป็นคนละฝั่งละฝ่าย ช่างน่าอดสูยิ่งนัก

พี่น้องกันไม่รักกันก็เป็นเรื่องน่าเจ็บปวดมากพออยู่แล้วนี่อาไร้ยังจะต้องมาเตะกันให้มันรู้ดำรู้แดงกันไปข้างหนึ่งอะไรมันจะขนาดนั้น ชื่อ ชาคา จะต้องถูกบันทึกทันทีเลยว่ามีพี่น้องที่อยู่กันคนละทีมในฟุตบอลยูโร 2016

นับตั้งแต่ กรานิต ชาคา มิดฟิลด์ที่ย้ายจากโบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ไปอยู่กับอาร์เซน่อล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าเขาจะเป็นที่รู้จักของแฟนบอลทั่วไป (ไม่นับแฟนบอลเยอรมัน) มากกว่าเดิม อย่างน้อยแฟนบอลบ้านเราก็ได้เห็นหน้าตาอันหล่อเหลาของเขาบ่อยครั้งขึ้นจนจำได้ติดตา และหลายคนก็ตั้งใจว่าในช่วงยูโรครั้งนี้จะติดตามดูผลงานของเขาในทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ด้วย

กล่าวคือพวกเขาอยากจะให้เห็นกันด้วยตาตัวเองว่าหมอนี่เก่งจริงอย่างที่ อาร์แซน เวนเกอร์ ยอมทุ่มทุนถึง 30 ล้านปอนด์หรือเปล่า และดีพอที่จะช่วยให้ทีมมีลุ้นคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกในยามที่คู่แข่งเขาแปลงร่างเป็นอสูรกายกันไปหมดแล้ว แต่อาร์เซน่อลยังคงใช้วิธีแต่งหน้าเติมตาให้ดูบ้องแบ๊ว ไม่เห็นแววว่าจะทำให้ตัวเองกลายเป็นทีมพันธุ์ดุเสียที

ถ้าดูสถิติการเล่นในทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ของชาคามันก็น่าชื่นใจนะครับเขาเล่นให้สวิตเซอร์แลนด์มาตั้งแต่ระดับเล็กสุด ทีมชุด ยู-17 ที่เขาเล่นก็ไปได้แชมป์โลกรุ่นเล็กเมื่อปี 2009 ที่ไนจีเรีย จากนั้นก็เลื่อนขึ้นไปเล่นชุด ยู-19 แล้วก็ ยู-21 จนกระทั่งก้าวขึ้นไปสู่ทีมชุดใหญ่เมื่อปี 2011 ถึงตอนนี้ก็ติดทีมชาติไปแล้ว 41 นัด

แต่ว่าก่อนจะมาถึงตรงนั้นซีครับชาคาก็ครุ่นคิดมาตลอดว่าอยากจะเล่นให้ทีมชาติแอลเบเนีย ซึ่งเป็นบ้านพ่อบ้านแม่ของเขา คือว่าครอบครัวของเขาเป็นชาวแอลเบเนียที่อยู่ในโคโซโว แล้วก็อพยพไปอยู่ที่สวิสก่อนที่จะมีลูกดังนั้น กรานิต ชาคา ที่เกิดในสวิสจึงเป็นชาวสวิส โดยสัญชาติ ทว่าพ่อแม่คงย้ำเตือนให้รู้ตัวมาโดยตลอดว่าพวกเขาคือ แอลเบเนียน สำนึกรักบ้านเกิดมีอยู่แล้วในตัวมาโดยตลอด เขาจึงอยากจะสวมเสื้อทีมชาติแอลเบเนีย เพียงแต่ว่าทางสมาคมฟุตบอลแอลเบเนียไม่ถ้วยไม่สากกระเบืออะไรเลยว่าจะเรียกเขาไปร่วมทีมด้วยหรือเปล่าดังนั้นพอสวิสเรียกตัวเขาจึงโอเคนะคะ

กรานิตมีพี่ชายที่อายุมากกว่าเขา 2 ปีครับ เล่นตำแหน่งกองหลังและมิดฟิลด์แต่ว่าเก่งไม่เท่าเขากรานิตติดทีมชาติสวิสชุดใหญ่เมื่อปี 2011 แต่ตูล็องต์ติดทีมชาติชุดใหญ่หลังจากนั้น 3 ปี ทั้งที่ก่อนหน้านั้นพวกเขาก็เคยเล่นในทีมระดับเยาวชของสวิสด้วยกันและอย่างที่บอกนั่นแหละตูล็องต์เล่นให้แอลเบเนีย อ้าว...มันยังไงกันล่ะเนี่ย

อะไรทำให้สองพี่น้องต้องแยกกันไปเล่นคนละชาติ (ที่จริงก็คือชาตินี้ทั้งคู่แหละแต่คนละประเทศ) น้องติดทีมชาติก่อนเลือกเล่นให้สวิสเพราะแอลเบเนียไม่เคยติดต่อมาทั้งที่เขาก็รอยู่ส่วนตูล็องต์พี่ชายติดทีมชาติทีหลังเลือกไปเล่นให้แอลเบเนียตามสายเลือดและคนที่แนะนำหรือจะเรียกว่ายุให้เขาเล่นให้แอลเบเนีย ก็คือ กรานิต น้องชายของเขานั่นเอง อ้าว! ไหงงั้นล่ะ

รายงานบอกว่ากรานิตเป็นคนบอกให้ตูล็องต์เลือกเล่นให้แอลเบเนียดีกว่าอย่าตัดสินใจผิดแบบเขาที่เลือกเล่นให้สวิสแต่กลับไม่ได้บอกว่าไอ้ที่ว่าตัดสินใจผิดนั้นมันคืออะไร

ตอนนี้ตูล็องต์ติดทีมชาติแอลเบเนียไปแล้ว 8 นัดด้วยกันอาจจะเล่นน้อยไปหน่อยแต่ก็พอมีส่วนช่วยให้แอลเบเนียได้เข้าไปเล่นในทัวร์นาเมนต์ใหญ่รอบสุดท้ายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และเกมที่พวกเขาได้เล่นที่ฝรั่งเศสก็เป็นการพบกับสวิส ในวันที่ 11 มิ.ย.

พี่น้องต้องมาเตะกันเองแล้วครับน้องชายที่ชักนำพี่เข้าสู่วงการมีโอกาสที่จะโดนสอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เสียด้วย และนี่จะเป็นครั้งแรกที่พี่น้องจะต้องมาหวดกันเองในฟุตบอลยุโรปรอบสุดท้าย

ยังดีนะครับที่ วาลอน เบห์รามี่, อัดเมียร์ เมห์มาดี้ และ เซอร์ดาน ชาคิรี่ ไม่มีพี่น้องที่เล่นฟุตบอลแต่เลือกเดินกันคนละสายไม่งั้นในเกมที่พบกับแอลเบเนีย เราอาจจะได้เห็นการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนครับเนื่องจากทั้ง 3 คนนี้ต่างก็มีเชื้อสายจากครอบครัวที่เป็นโคโซโว - แอลเบเนียน เหมือนครอบครัวชาคา

นอกเหนือไปจากนั้น เบลริม เชไมลี่ กับ พาจทิม คาซามี่ นักเตะทีมชาติสวิสชุดนี้ก็มีเชื้อสายแอลเบเนียนเช่นกัน ทีนี้คงหายแปลกใจกันแล้วนะครับว่าเป็นสวิสประสาอะไรถึงปล่อยให้ชื่อ (สกุล) ของตัวเองมันดูแปลกๆ ที่แท้ก็เป็นต่างด้าวปลอมตัวมานั่นเอง

ในทางตรงกันข้ามครับนักเตะแอลเบเนียชุดนี้ อาเมียร์ อาบราชี่, อาร์ลินด์ อาเยติ, มิจเกน บาชา, เบรัต ฌิมสิติ, สเคลเซน กาชี่ และ เฟรดดี้ เวเซลี่ โอ๊ย! เพิ่งมีไอ้คนหลังนี่แหละที่ชื่ออ่านสบายปากหน่อยพวกนี้เกิดในสวิสแต่ก็เลือกเล่นให้บ้านเกิดของพ่อแม่ด้วยกันทั้งนั้น         

ส่วนเพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆ อย่างเช่น นาเซอร์ อาลิยี่, โลริค คาน่า, บูริม คูเคลี่ และ เออร์เมียร์ เลนยานี่ พวกนี้เกิดที่แอลเบเนียแต่พอโตขึ้นมาหน่อยก็ไปใช้ชีวิตอยู่ที่สวิส

เป็นอันว่านักเตะสวิสกับแอลเบเนียส่วนใหญ่แล้วจะมีอะไรบางอย่างที่เชื่อมโยงกันอยู่ครับเรียกได้ว่าลงสนามก็ทักทายหรือตบหัวกันได้เลยเพราะคุ้นเคยกันดีทั้งนั้น

ไม่ใช่เท่านั้นนะครับแม้แต่นักเตะกับโค้ชของอีกทีมบางคนก็เข้าขั้นสนิทกันเลยทีเดียวอย่างเช่น คาน่า ซึ่งเป็นกัปตันทีมแอลเบเนีย กับ เอทริต เบริช่า สองคนนี้เคยเป็นลูกน้องของ วลาดิเมียร์ เพ็ตโควิช โค้ชสวิตเซอร์แลนด์คนปัจจุบันสมัยที่เขาคุมลาซิโอ ในช่วงปี 2012-14

นอกจากนั้นแล้ว เออร์ยอน บ็อกดานี่ ผู้ช่วยโค้ชของแอลเบเนียกับ วาลอน เบห์รามี่ มิดฟิลด์สวิสก็เคยเป็นเพื่อนร่วมทีมเวโรน่า เมื่อฤดูกาล 2004/05 เอาเข้าไป

ฤดูกาลล่าสุดที่เพิ่งจบลงไปมีนักเตะแอลเบเนียถึง 9 คนที่เล่นอยู่ในลีกสวิสไม่ว่าจะเป็น เอฟซี บาเซิ่ล, กราสฮอปเปอร์ ซูริค, วาดุซ, ลูกาโน่ และลูเซิร์น แต่ผมไม่ประสงค์จะออกนามพวกนี้นะครับเพราะเบื่อที่จะอ่านมันอย่างยิ่งแต่ละคนนี่ไม่ชวนจำเลย

ในทีมบาเซิ่ลมีนักเตะทีมชาติแอลเบเนีย 2 คนคือ นาเซอร์ อาลิยี่ กับ ตูล็องต์ ชาคา และทีมชาติสวิส 2 คนคือ มิชาเอล ลังก์ และ บรีล เอ็มโบโล่ ส่วนในทีมซูริค มีแอลเบเนีย 3 คนคือ เบเร็ต ฌิมสิติ, บูริม คูเคลี่ และ อาร์มันโด้ ซาดิคู และทีมชาติสวิส 1 คนคือ มาร์โก โชนบัคเลอร์ แล้วคิดดูสิครับว่าสองทีมนี้คงจะเป็นทีมที่มีนักเตะคุ้นหน้าคุ้นตากันมากกว่าชาติไหนๆ แล้วแหละครับ

แต่อะไรก็คงไม่น่าสนใจเท่ากับพี่น้องที่ต้องมายืนกันคนละฝั่งร้องเพลงชาติคนละเพลงแล้วทำตามความเชื่อและสังกัดของตัวเองอันจะเป็นบทพิสูจน์ถึงสปิริตต้องที่อยู่เหนือสายเลือดแล้วแหละครับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

TOP 5 ข่าวในรอบ 3 วัน

อัลบั้มภาพเด็ดๆ

More »

คลิปไฮไลท์

More »