ผลคะแนนและราคา 2 in 1 คะแนนในการแข่งสด ผลการแข่งขัน ตารางการแข่งขัน อัตราต่อรอง ข้อมูล คะแนนบาสเก็ตบอล
ฟุตบอล » ฟุตบอลไทย » ตกรอบน่ะได้ แต่ตกแบบสร้างประวัติศาสตร์แบบนี้ แฟนญี่ปุ่นรับไม่ได้

ตกรอบน่ะได้ แต่ตกแบบสร้างประวัติศาสตร์แบบนี้ แฟนญี่ปุ่นรับไม่ได้

Posted 14/01/2020 by siamsport

การตกรอบครั้งแรกในการแข่งขันฟุตบอล 23 ปี ชิงแชมป์เอเชีย 2020 ของทีมชาติญี่ปุ่น ภายใต้การคุมทัพของ ฮาจิเมะ โมริยะสึ ที่ควบทีมชาติ 2 ชุดทั้งชุดใหญ่และยู-23 ชุดเตรียมทีมสู้ศึกฟุตบอลโอลิมปิก 2020 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.63 รอบสุดท้ายในศึกโอลิมปิคฟุตบอลชายจะมี 16 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ญี่ปุ่นผ่านเข้ารอบสุดท้ายในฐานะเจ้าภาพ
    การลงแข่งขันรายการชิงแชมป์เอเชีย จึงเป็นเหมือนการลองทีมให้พร้อมที่สุดก่อนที่จะเข้าสู่ทัวร์นาเมนต์ใหญ่ แต่ไนยะแอบแฝงของการชิงแชมป์เอเชียแต่ละครั้งชาติมหาอำนาจลูกหนังในเอเชียทราบดีว่ารายการนี้เป้าหมายระดับต่ำสุดต้องไปได้ให้ถึงแค่ไหน?  แน่นอนว่าทางสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย หรือว่า เอเอฟซี วางแนวทางการแข่งขันฟุตบอลระดับเยาวชนไว้ชัดเจนผลงานชิงแชมป์เอเชียรอบสุดท้ายทุกครั้งจะเป็นการจัดเกรดการจับสลากรอบสุดท้ายในครั้งต่อไปของทุกรุ่น ทั้งรุ่นอายุ 16,19 และ 23 ปี

    ทีมที่จะอยู่โถทีมวางอันดับ 1 จะประกอบไปด้วย เจ้าภาพ,แชมป์,รองแชมป์ และ อันดับ 3  ส่วนโถ 2,3 และ 4 คือทีมที่ทำอันดับรองๆลงมา การอยู่โถ 1 ย่อมสร้างโอกาสในการคว้าตั๋วโควตาเอเชียไปชิงแชมป์โลกรวมไปถึงเวทีระดับโอลิมปิก แบบเพื่อนร่วมสายไม่หนักไม่เบามาก  หากว่าหลุดทะลุไปถึงโถ 3-4 โอกาสที่จะพบกับทีมที่แข็งแกร่งในสายถึง 2 ทีม จึงเป็นงานที่หนักกกว่า โอกาสก็ยากขึ้น

    ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยเห็นแฟนบอลจากแดนซามูไรออกโรงจวกฟอร์มการเล่นของทีมชาติตัวเองส่วนใหญ่วัฒนธรรมเชียร์ทีมชาติของแฟนบอลจากแดนอาทิตย์อุทัยจะยอดเยี่ยมมากๆ แต่ผลพวงจากการตกรอบแรกหนนี้แม้ว่าจะเหลืออีกหนึ่งเกมในรอบแรก ญี่ปุ่น ที่วางแผนการทำงานชัดเจนสำหรับฟุตบอลทุกรุ่นพวกเขามีบันได 3 ขั้น ระดับภูมิภาค,ระดับทวีป และ ระดับโลก ที่แบ่งปันนักเตะที่สร้างขึ้นมาให้มีโอกาสได้เก็บเกี่ยวรายการระดับนานาชาติ ขึ้นอยู่กับว่าคุณภาพแต่ละคน เป็นอย่างไร? เพื่อสร้างตัวเลือก ในแต่ละชุดของทีมชาติเยาวชนจะมีทีมที่แบ่งกลุ่มออกมาชัดเจนในแต่ละรุ่นแต่จะมีการหมุนเวียนขึ้นมาตามพัฒนาการ เช่นทีม 22 ปี มีทีม เอ,บี,ซี โค้ชจะเลือกนักกีฬามาใช้ตามทัวร์นาเมนต์

    สำหรับรายการระดับทวีปญี่ปุ่นจะเน้นเป็นพิเศษเพื่อรักษามาตรฐานของตัวเองแม้ว่าจะมีระบบการเล่นที่แข็งแกร่งก็ตาม เพราะเวทีระดับนี้จะสร้างโอกาสให้นักเตะญี่ปุ่นได้ไปสะสมประสบการณ์นานาชาติต่อ แต่การการแข่งขัน 23 ปี ชิงแชมป์เอเชีย อาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้างในเรื่องของโปรแกรมการแข่งขันที่ฟาดแข้งกันในช่วงไม่ตรงฟีฟ่าเดย์ทำให้ตัวอายุน้อยฝีเท้าดีในต่างแดนไม่สามารถร่วมทีมได้ ญี่ปุ่นวางแพลนทีมคร่าวๆไว้สำหรับโอลิมปิกผู้เล่นส่วนใหญ่ลงเล่นในศึกโคปาอเมริกา 2019 ที่บราซิลล่าสุด   ซึ่งมีชื่อติดทีมชุดชิงแชมป์เอเชีย 5-6 รายเท่านั้น แต่ปัญหาใหญ่คือเรื่องของโปรแกรมที่ไม่ตรงฟีฟ่าเดย์อาจจะทำให้นักเตะที่ค้าแข้งยุโรปมารับชาติได้ไม่ครบ

    การพ่าย 2 นัดติดต่อกันให้กับ ซาอุดิอาระเบีย 1-2,ซีเรีย 1-2  ในแง่ของกีฬาอาจจะเป็นเรื่องปกติของผลการแข่งขัน แต่ทีมระดับญี่ปุ่นในรายการระดับทวีปถือว่าหลุดฟอร์มไปพอสมควร จนสุดท้ายผู้บริหารระดับสูงของสมาพันธ์ฟุตบอลญี่ปุ่นต้องออกมาขอโทษแฟนบอลทั้งประเทศสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมประเมินผลงานทีมงานด้านเทคนิคทันทีหลังจากนี้  อีกทั้งทางด้านของประธานสมาพันธ์ฟุตบอลญี่ปุ่นยังให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่าไม่คิดว่าทีมจะตกรอบแรก แต่ขอให้ทีมเต็มที่กับเกมที่เหลือแม้ว่าจะตกรอบไปแล้วก็ตามที    หากย้อนเวลากลับไปเรื่องที่น่าสนใจของญี่ปุ่นคือยามทีมล้มเหลวจะมีปฏิบัติการณ์พัฒนาระบบแบบเฉียบพลันเสมอ โดยเฉพาะในกลุ่มทีมอายุ 23 ปี ต่อชุดใหญ่ถูกมองว่าเป็นรอยต่อที่สำคัญสำหรับอนาคตอันใกล้

    ใน 3 รุ่นสำคัญที่เกี่ยวข้องกันของญี่ปุ่น 19 ปี 23 ปี และ ชุดใหญ่ กลุ่มนักเตะกลุ่มนี้คือกลุ่มสำคัญที่ญี่ปุ่นไม่ต้องการให้ขาดความต่อเนื่องในเรื่องของพัฒนาการและผลงาน  ส่วนรุ่นอายุที่ต่ำกว่านี้ยังสามารถเร่งแก้ไขได้ทันการทั้งการเติมโค้ชฝีมือดีหรือเก็บรายละเอียด ในศึกชิงแชมป์เอเชียรอบสุดท้ายรายการใหญ่ระดับทวีปทั้ง 3 รุ่นที่กล่าวมาของญี่ปุ่น ตกรอบแรกล่าสุดต้องย้อนกลับไปถึงปี 1990  หรือ 30 ปี ที่แล้วเป็นการตกรอบในรุ่น 19 ปี  ซึ่งเป็นช่วงผ่าระบบการพัฒนาของญี่ปุ่น  ส่วนทีมชาติชุดใหญ่รายการชิงแชมป์เอเชีย ญี่ปุ่นไม่ตกรอบมาถึง 32 ปี   

    ผลงานชิงแชมป์ทวีปเอเชียรอบสุดท้ายทีมชาติญี่ปุ่นทุกชุด

    ทีมชาติชุดใหญ่ : 9 ครั้ง  - แชมป์ ( 1992,2000,2004,2011)รองแชมป์ (2019),อันดับ 4 (2007) รอบก่อนรอง(1996,2015) ,ตกรอบแรก (1988)

    ทีมชาติชุด ยู-23 : 4 ครั้ง - แชมป์(2016), รอบก่อนรองชนะเลิศ(2003,2018),ตกรอบแรก(2020)

    ทีมชาติชุด ยู-19 : 37 ครั้ง-แชมป์(2016,) รองแชมป์(1973,1994,1998,2000,2002,2006,อันดับ3
(1959,1960,1980,1992,2004,2018,) อันดับ 4(1970,1971,1977,1996),รอบก่อนรองชนะเลิศ(1969,1972,1974,2008,2010,2012,2014,), ตกรอบแรก(1961,1962,1963,1964,1965,1966,1967,1968,1975,1976,1978,1988,1990)

    ทีมชาติชุด ยู-16 : 15 ครั้ง- แชมป์ (1994,2006,2018),รองแชมป์(2012),อันดับ 3 ( 2000,2008,2010,2016)อันดับ 4( 1996),รอบก่อนรองฯ(2014),ตกรอบแรก(1985,1988,1998,2002,2004)

    ทีมชาติหญิงชุดใหญ่: 16 ครั้ง -แชมป์ (2014,2018),รองแชมป์(1986,1991,1995,2001) ,อันดับ 3 (1989,1993,1997,2008,2010) อันดับ 4 (1999,2003,2006),ตกรอบแรก(1977,1981)

    ทีมชาติหญิงชุด ยู-19: 10 ครั้ง-แชมป์ (2002,2009,2011,2015,2017,2019) รองแชมป์(2007),อันดับ 3( 2006,2013),รอบก่อนรองฯ(2004)

    ทีมชาติหญิงชุดใหญ่ ยู-16 : 8 ครั้ง-แชมป์(2005,2011,2013,2019),รองแชมป์(2007,2015),อันดับ 3(2009,2017)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

TOP 5 ข่าวในรอบ 3 วัน

อัลบั้มภาพเด็ดๆ

More »

คลิปไฮไลท์

More »