Action Replay : อนาคตของวินนี่ และวิธีจัดการฟุตบอลแบบเยอรมัน
Posted 24/03/2013 by goal.com
เมื่อทริปทุลักทุเลสู่ตะวันออกกลางของทีมชาติไทย จบลงอย่างโหดร้าย พลพงศ์ จันทร์อัมพร ขอพอย้อนกลับไปดูเกมบาดใจในเบรุตอีกครั้ง แล้วคิดอ่านกันถึงทางข้างหน้าของช้างศึกและควาญช้างผมขาว
ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นเพราะอะไร ผลงานในสนามคามิลล์ ชามูน สปอร์ตส ซิตี้ สเตเดียม กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรก สะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่โหดร้ายที่สุดประการหนึ่งสำหรับชาวไทยทุกคน นั่นคือทีมชาติของเรายังอยู่ในระดับที่ห่างจากคู่แข่งอยู่ 1 ขั้น ซึ่งนำมาสู่การไล่ถล่มแบบไม่ยั้ง 3-0 ในช่วงเวลาเพียงแค่ 45 นาที ก่อนที่จะปิดเกมด้วยสกอร์ทิ้งห่าง 5-2 เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน
จริง อยู่ เราอาจพลาดเสียประตูเพราะความอ่อนด้อยไร้ประสบการณ์ของกองหลังหน้าใหม่ อาจอยู่ในสภาพสนามไม่เคยชินจนต่อเกมไม่ถนัด รวมถึงอาจเป็นความผิดพลาดทางแท็คติกของกุนซือ และความไม่ทุ่มเทเท่าที่ควรของผู้เล่นบางคน จนทำให้รูปเกมออกมาดูไม่จืดชนิดที่แฟนบอลทั้งประเทศต้องเซ็งจิตไปตามๆ กัน แต่ถ้าดูแบบลงลึกไปในรายละเอียด คงต้องยอมรับกันแบบแฟร์ๆ ว่าเลบานอนในวันนี้ (หรืออย่างน้อยก็เมื่อวานนี้) เป็นทีมที่ดีกว่าเรา ทั้งทีมเวิร์ค สภาพความฟิต ความคล่องแคล่วรวดเร็ว และทักษะความสามารถเฉพาะตัว
เมื่อสิ้นเสียงนกหวีดในสนาม เชื่อแน่ว่าบรรดาผู้รักบอลไทยในสายเลือดทุกท่านคงพยายามหาเหตุผลสำหรับความ ล้มเหลวในครั้งนี้ ซึ่งนอกเหนือจากดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คงเหลืออีกเพียงไม่กี่สาเหตุที่เราพอจะเอาผิดหวังในใจไปกล่าวโทษได้ หนึ่งในนั้นคือการบริหารงานของสมาคมฟุตบอล แต่หน้าด่านรายแรกๆ ที่คงจะหนีไม่พ้นก่อนใครเพื่อน คือ นายใหญ่ทีมชาติไทยในเวลานี้อย่างวินฟรีด เชเฟอร์ ซึ่งเตรียมตัวรับหน้าเสื่อไปเต็มๆ
หลังฟอร์มการเล่นสุดชื่นมื่นที่จบลงด้วยรองแชมป์ในเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ แบบชนะใจแฟนบอล “วินนี่” ก็ต้องพบความจริงอันโหดร้ายที่ว่า ทัพช้างศึกแพ้มาแล้ว 4 นัด จาก 5 นัดหลังสุดที่ลงแข่งขัน และเสมอได้เพียงนัดเดียว (กับเกาหลีเหนือในเกมชิงที่สาม คิงส์ คัพ) โดยไม่ชนะเลยแม้แต่นัดเดียว และเสียงวิพากษ์วิจารณ์สำหรับกุนซืออินทรีเหล็กที่หนาหูที่สุด ก็คือ การยึดติดในแผนการเล่นแบบเดียวจนคู่แข่งจับทางได้ รวมถึงไม่มีแผนสำรองในกรณีฉุกเฉิน
ว่าแต่ นั่นเป็นคำวิจารณ์ที่ยุติธรรมสำหรับเชเฟอร์ดีแล้วจริงหรือ?
จริง อยู่ ความเชี่ยวชาญด้านแท็คติกและความสามารถในการแก้เกมเป็นคุณสมบัติสำคัญประการ หนึ่งของโค้ชที่ดี แต่อย่าลืมว่าการทำทีมฟุตบอลให้แกร่งและเก่งไม่ได้มีอยู่แบบเดียว หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ การเน้นระบบให้แข็งแกร่ง-แน่นอนเพียงระบบเดียวแบบเยอรมัน ซึ่งเป็นแผ่นดินเกิดของโค้ชทีมชาติไทยในเวลานี้
"ชาติ ต้นกำเนิดของวินนี่ คือทีมที่เน้นและยึดติดกับระบบมากที่สุดทีมหนึ่งในโลก พวกเขามีแผนการเล่นที่แน่นอนตายตัว ใครๆ ก็อ่านได้ เวลาเห็นผู้เล่นสักคนยืนอยู่ข้างสนามก็แทบจะเดาได้เลยว่าจะเปลี่ยนตัวลงมา แทนใคร หรือแม้แต่จะเปลี่ยนตัวสำรองลงมาในนาทีไหน" |
พลพรรคอินทรีเหล็ก ชาติต้นกำเนิดของวินนี่ คือทีมที่เน้นและยึดติดกับระบบมากที่สุดทีมหนึ่งในโลก พวกเขามีแผนการเล่นที่แน่นอนตายตัว ใครๆ ก็อ่านได้ เวลาเห็นผู้เล่นสักคนยืนอยู่ข้างสนามก็แทบจะเดาได้เลยว่าจะเปลี่ยนตัวลงมา แทนใคร หรือแม้แต่จะเปลี่ยนตัวสำรองลงมาในนาทีไหน ซึ่งบ่อยครั้งนี่ก็เป็นหอกข้างแคร่ที่ย้อนมาทิ่มแทงพวกเขาเอง เวลาที่ระบบมันติดขัด หรือแผนนั้นใช้ไม่ได้ผล
อย่างไรก็ดี มีความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้อยู่ประการหนึ่งว่า นี่คือทีมที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดทีมหนึ่งในวงการฟุตบอลระดับชาติ พวกเขาเป็นแชมป์ฟุตบอลโลก 3 สมัย แชมป์ยูโร 3 สมัย เข้ารอบลึกๆ ในทัวร์นาเมนต์สำคัญได้อย่างสม่ำเสมอ และได้ลงสนามในทั้งสองทัวร์นาเมนต์สำคัญ (ฟุตบอลโลกและยูโร) มากที่สุดเหนือกว่าทีมใดๆ ซึ่งเป็นผลจากการที่ได้เข้าไปถึงรอบลึกๆ อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ความยอดเยี่ยมทั้งหมดที่กล่าวมา น่าจะพอบ่งบอกได้ว่า “ฟุตบอลแผนเดียว” อาจไม่ได้ย่ำแย่เสมอไป หากเรามีระบบและการบริหารจัดการที่แข็งแกร่งพอ คำถามคือทุกวันนี้เป็นแบบนั้นหรือไม่
เมื่อ วินฟรีด เชเฟอร์ คือ คนเยอรมัน เราคงต้องคาดการณ์ได้ตั้งแต่วันแรกที่จรดปากกาเซ็นสัญญากันแล้วว่า ตลอดเวลาที่นายใหญ่หัวใจอินทรีรายนี้อยู่ในตำแหน่ง ทีมชาติไทยของเราต้องอยู่ภายใต้แนวคิดการทำทีมแบบไหน เขาไม่แตกต่างอะไรจากจุ๊ปป์ ไฮย์เกส, โยอาคิม เลิฟ, เจอร์เกน คล็อปป์ และโค้ชชาวเยอรมันอีกหลายรายที่เน้นการสร้างระบบให้มั่นคงก่อนจะขยับขยายไป สู่แนวทางอื่น
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงความยอดเยี่ยมในระบบของ เยอรมัน คือ ในยุคที่เจอร์เกน คลินส์มันน์ เป็นบุนเดสเทรนเนอร์ พวกเขาขอให้ทีมในระดับสโมสรของบุนเดสลีกาเล่นด้วยแผนแบบเดียวกัน ฝึกซ้อมด้วยวิธีเดียวกัน เพื่อให้เหมือนกำลังซ้อมกับทีมชาติอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจไม่ได้รับความร่วมมือแบบเต็ม 100% แต่นั่นก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการจัดการกับระบบนอกสนามที่หาไม่ได้ ง่ายๆ จากทีมชาติอื่น
นอกจากนี้ หากมองขยายไปถึงความสำเร็จของทีมชาติในแต่ละทัวร์นาเมนต์ใหญ่ๆ ทั้งฟุตบอลโลก และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป จะเห็นได้ว่าทีมที่ได้แชมป์มักเป็นทีมที่มีการจัดการที่ยอดเยี่ยม หรือไม่ก็มีนักเตะเก่งๆ อยู่ในทีม มากกว่าจะเป็นทีมที่เชี่ยวชาญด้านแท็คติกเป็นหลัก หากนับกันตั้งแต่ยุค 80s เป็นต้นมา ทีมที่พอจะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าความเชี่ยวชาญด้านแท็คติกคือเหตุผลสำคัญ ที่นำพวกเขามาถึงตำแหน่งแชมป์คือ อิตาลี ในฟุตบอลโลก 1982, 2006 และกรีซในยูโร 2004
ส่วนที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการที่ยอดเยี่ยมของเยอรมัน, ฝรั่งเศส และสเปน หรือทีมที่มียอดนักเตะอยู่เต็มทีมอย่างบราซิล, ฮอลแลนด์ หรืออาร์เจนตินาภายใต้การนำของดิเอโก้ มาราโดนา พระเจ้าของชาวอาร์เจนไตน์ ก็ล้วนแล้วแต่มีปัจจัยสำคัญมาจากผู้เล่นในสนามทั้งสิ้น แม้กระทั่งทีมเอเชียอันดับหนึ่งในเวลานี้อย่างญี่ปุ่นก็คงไม่มีใครกล้าเถียง ว่าความก้าวหน้าทางฟุตบอลแบบก้าวกระโดดของพวกเขามาจากการวางแผนที่เป็นระบบ มานานหลายสิบปี
"พูดง่ายๆ ก็คือ เราคงไม่สามารถเล่นแผนแบบเรอัล มาดริดได้ เพราะไม่มีตัวที่เร็วเท่ากับโรนัลโด้ หรือวางบอลได้แม่นยำเท่าซาบี อลอนโซ" |
เหตุผลสำคัญที่ทำให้ฟุตบอลในทีมชาติเป็นเรื่อง ของการบริหารจัดการและตัวนักเตะ มากกว่าความเชี่ยวชาญด้านแท็คติกของกุนซือก็คือ วิถีการทำงานในทีมชาติ ไม่เอื้อให้มีการปั้นนักเตะหรือซ้อมบ่อยๆ ให้เกิดแผนการเล่นที่หลากหลายมากมายนัก โค้ชมีหน้าที่เลือกผู้เล่นจาก “เท่าที่มีอยู่” ขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นแผนการพัฒนาเยาวชนในระดับชาติ การจัดตารางเกมลีกในประเทศให้เอื้อกับทีมชาติ รวมถึงแรงสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ไล่ตั้งแต่สมาคมฟุตบอลฯ สื่อมวลชน ไปจนถึงทุกสโมสร จึงมีความจำเป็นยิ่งสำหรับความสำเร็จทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
อย่าลืมว่า ฟุตบอลไม่ใช่เกมหมากรุก ที่กุนซือทั้งสองฝ่ายเริ่มต้นด้วยตัวหมากเหมือนๆ กัน และใช้ความสามารถในการวางแผนเพื่อเอาชนะกันเพียวๆ ความสามารถในการทำตามแท็คติกของนักเตะย่อมส่งผลต่อรูปเกมอย่างมาก พูดง่ายๆ ก็คือ เราคงไม่สามารถเล่นแผนแบบเรอัล มาดริดได้ เพราะไม่มีตัวที่เร็วเท่ากับโรนัลโด้ หรือวางบอลได้แม่นยำเท่าซาบี อลอนโซ และคงไม่มีประโยชน์อะไรหากเราจะให้โชเซ มูรินโญ มาคุมทีมชาติไทยด้วย “ไพ่เท่าที่เรามี” แล้วไปเผชิญกับท็อปเอเชียอย่างญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ หรือออสเตรเลีย
แน่ นอนว่า วินฟรีด เชเฟอร์ เลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ จากความย่ำแย่ในทัวร์นาเมนต์ เอเชียน คัพ รอบคัดเลือก ทั้ง 2 นัด เพราะเขาคือหัวเรือใหญ่ มีค่าจ้างราคาแพง และยังไม่มีผลงานที่จับต้องได้แบบเป็นชิ้นเป็นอัน แต่หากจะโยนให้ความผิดทั้งหมดเป็นของกุนซือรายนี้ โดยไม่พิจารณาถึงแรงสนับสนุนจากหลายฝ่าย แล้วมาบอกว่า เราจะหากุนซือคนใหม่ที่ฝีมือดีกว่านี้ เพื่อให้ทุกอย่างดีขึ้นในชั่วพริบตา โดยที่กลไกอื่นในแวดวงฟุตบอลไทยไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรเลยนั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
TOP 5 ข่าวในรอบ 3 วัน
วิเคราะห์บอล ทีมชาติฟิลิปปินส์ พบ ทีมชาติไทย วันศุกร์ที่ 27 ธ.ค. 67
เพิ่งมาก็ไม่รอด! รูเบน อโมริม รับอาจโดนปลดหากแมนยูผลงานยังห่วย
เขี่ยอินโดฯตกรอบ แข้งฟิลิปปินส์ โดนสโมสรอินโดฯยกเลิกสัญญา
ต้องจ่ายหากหวังแชมป์!ยอร์ค ชี้ อาร์เซน่อล ควรเซ็น อิซัค
ที่สุดของหัวใจ! ไกเซโด้ เผยครอบครัวไม่ยอมกินเพื่อซื้อสตั๊ดให้ตน
อัลบั้มภาพเด็ดๆ
แม่เจ้าโว้ย! นักร้องสาวนุ่งบิกิน...
มาย ฮาเร็ม ส่งภาพเขย่าโซเชียล นุ...
เจนนี่ ธมนภัค พริตตี้สุดฮอต นุ่ง...
ฮาน่า ฮาอึน ชอง ดาว TikTok สาวสว...
นาฟ ฉัฐนันท์ ปล่อยแซ่บท้าลมหนาว ...
เต็มที่แล้ว! ไทย พ่าย อุซเบกิสถา...
คลิปไฮไลท์